ขับเคลื่อนโดย Blogger.

การจัดทำแผนการจัดการความรู้



การจัดทำแผนการจัดการความรู้  (KM Action Plan)

1.  แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) เป็นแผนงานที่แสดงถึงรายละเอียดการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้องค์กรบรรลุผลตามเป้าหมาย KM (Desired State) ที่กำหนด

2.  จากการตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมของขอบเขต KM (KM Focus Area) และเป้าหมาย KM (Desired State) ตามแบบฟอร์ม 4  ให้องค์กรนำหัวข้อเป้าหมาย KM ที่องค์กรต้องการทำคือ เป้าหมาย KM ที่ xx   จากแบบฟอร์ม 3   1 เป้าหมาย KM (Desired State)   มาจัดทำแผนการจัดการความรู้   (KM Action Plan)  ประจำปีงบประมาณ พ.. 2549 โดยการจัดทำแผนจะขึ้นอยู่กับความพร้อมขององค์กรที่ทำให้เป้าหมาย KM บรรลุผลสำเร็จ  

3.     การเริ่มต้นจัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan)   องค์กรควรจัดทำการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้   เพื่อให้ทราบถึงความพร้อม (จุดอ่อน-จุดแข็ง/โอกาส-อุปสรรค) ในเรื่องการจัดการความรู้   และนำผลของการประเมินนี้ ใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการจัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ให้สอดรับกับเป้าหมาย  KM (Desired State)  ที่เลือกไว้ 
         โดยองค์กรสามารถเลือกวิธีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับองค์กร  ได้ดังนี้
                3.1 ใช้วิธีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ด้วย KMAT (The Knowledge Management Assessment Tool : KMAT) ตามแบบฟอร์ม 5-9
                3.2 ใช้วิธีอื่นๆ ในการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้  เช่น  แบบสอบถาม, รายงานการวิเคราะห์องค์กร เป็นต้น แล้วสรุปลงในแบบฟอร์ม 10
          (ข้อ 3.2 นี้ใช้สำหรับบางองค์กรที่อาจมีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้มาแล้ว หรือมีวิธีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้เป็นแบบอื่น โดยไม่ใช้ข้อ 3.1)

3.1   KMAT  (The Knowledge Management Assessment Tool : KMAT)    
  เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการประเมินองค์กรตนเองในเรื่องการจัดการความรู้ และให้ข้อมูลกับองค์กรว่ามีจุดอ่อน-จุดแข็ง /โอกาส-อุปสรรค ในการจัดการความรู้เรื่องใดบ้าง โดยเครื่องมือนี้แบ่งเป็น
5 หมวด ตามแบบฟอร์มที่ 5-9 ดังนี้
            หมวด 1. กระบวนการจัดการความรู้  (แบบฟอร์ม 5), หมวด 2. ภาวะผู้นำ  (แบบฟอร์ม 6), หมวด 3. วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการความรู้ (แบบฟอร์ม 7), หมวด 4. เทคโนโลยีการจัดการความรู้ (แบบฟอร์ม 8), หมวด 5. การวัดผลการจัดการความรู้  (แบบฟอร์ม 9)

3.2 การประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้โดยวิธีอื่นๆ  เช่น  แบบสอบถาม, รายงานการวิเคราะห์องค์กร หรืออื่นๆ ตามความเหมาะสม
               - การประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้นั้น องค์กรสามารถเลือกวิธีใดๆ  ก็ได้ที่องค์กรมีความเข้าใจ หรือถ้าองค์กรได้มีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้มาบ้างแล้วก็สามารถใช้วิธีนั้นๆได้ และเมื่อประเมินแล้วให้นำผลสรุปที่ได้บันทึกลงในแบบฟอร์ม 10

4.4    การประเมินองค์กรตนเองดังกล่าว ให้เป็นการระดมสมองกันภายในองค์กรตนเอง โดยอย่างน้อยจะต้องเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับขอบเขต KMและเป้าหมาย KM (KM Focus Area และ Desired State) ที่เลือกไว้

4.5     ผลลัพธ์  ที่ได้จากการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ตามแบบฟอร์ม 5-9 หรือ 10 จะต้องเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนกับขอบเขตและเป้าหมาย KM  ที่เลือกขึ้นมาจัดทำ   เพื่อที่จะสามารถจัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) มาสอดรับกับผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมิน  และส่งผลให้เป้าหมาย  KM  บรรลุผลสำเร็จได้ตามแผน

4.6     ผู้รับผิดชอบในการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้  อย่างน้อยจะต้องเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ขอบเขตและเป้าหมาย KM  (KM Focus Area และ Desired State) ที่เลือกขึ้นมาจัดทำ

4.7     ผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กร   จะต้องมีส่วนร่วมในการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้  เพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับขอบเขตและเป้าหมาย KM  ที่เลือกขึ้นมาจัดทำ

4.8    ให้กำหนดรายชื่อผู้มีส่วนร่วมกับผู้บริหารระดับสูง ที่ร่วมในการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้  โดยให้ระบุถึง  ชื่อ-นามสกุล,  ตำแหน่งงาน  และหน่วยงานที่สังกัดอยู่ตามผังองค์กรปัจจุบัน ของผู้มีส่วนร่วมทุกท่าน


การประเมินองค์กรตนเองในเรื่องการจัดการความรู้ ด้วย KMAT  ใช้แบบฟอร์มที่ 5-9 ดังนี้

แบบฟอร์ม 5  แบบประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้  หมวด 1 - กระบวนการจัดการความรู้
โปรดอ่านข้อความด้านล่างและประเมินว่าองค์กรของท่านมีการดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้อยู่ในระดับใด 
 0 – ไม่มีเลย / มีน้อยมาก         1 – มีน้อย           2 - มีระดับปานกลาง          3 - มีในระดับที่ดี           4 – มีในระดับที่ดีมาก
หมวด 1 กระบวนการจัดการความรู้
สิ่งที่มีอยู่ / ทำอยู่
 1.1.องค์กรมีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อหาจุดแข็งจุดอ่อนในเรื่องการจัดการความรู้  เพื่อปรับปรุงในเรื่องความรู้   เช่นองค์กรยังขาดความรู้ที่จำเป็นต้องมี หรือองค์กรไม่ได้รวบรวมความรู้ที่มีอยู่ให้เป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ ไม่ทราบว่าคนไหนเก่งเรื่องอะไร ฯลฯ และมีวิธีการที่ชัดเจนในการแก้ไข ปรับปรุง

 1.2.องค์กรมีการแสวงหาข้อมูล/ความรู้จากแหล่งต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากองค์กรที่มีการให้บริการคล้ายคลึงกัน (ถ้ามี)  อย่างเป็นระบบและมีจริยธรรม

 1.3  ทุกคนในองค์กร มีส่วนร่วมในการแสวงหาความคิดใหม่ ๆ  ระดับเทียบเคียง (Benchmarks) และ Best Practices จากองค์กรอื่นๆ   ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน  (บริการหรือดำเนินงานที่คล้ายคลึงกัน ) และจากองค์กรอื่น ๆ ที่มีลักษณะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

 1.4  องค์กรมีการถ่ายทอด Best Practices อย่างเป็นระบบ  ซึ่งรวมถึงการเขียน Best Practices ออกมาเป็นเอกสาร  และการจัดทำข้อสรุปบทเรียนที่ได้รับ (Lessons Learned)

 1.5  องค์กรเห็นคุณค่า “Tacit Knowledge” หรือ ความรู้และทักษะ ที่อยู่ในตัวบุคลากร ซึ่งเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ของแต่ละคน และให้มีการถ่ายทอดความรู้และทักษะนั้น ๆ ทั่วทั้งองค์กร

                                     ผู้ทบทวน / ผู้อนุมัติ : ……………………………………………. (CKO / ผู้บริหารระดับสูงสุด)


แบบฟอร์ม 6  แบบประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้  หมวด 2 - ภาวะผู้นำ
โปรดอ่านข้อความด้านล่างและประเมินว่าองค์กรของท่านมีการดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้อยู่ในระดับใด 
 0 – ไม่มีเลย / มีน้อยมาก         1 – มีน้อย           2 - มีระดับปานกลาง          3 - มีในระดับที่ดี           4 – มีในระดับที่ดีมาก
หมวดภาวะผู้นำ
สิ่งที่มีอยู่ / ทำอยู่
 2.1 ผู้บริหารกำหนดให้การจัดการความรู้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในองค์กร

 2.2  ผู้บริหารตระหนักว่า ความรู้เป็นสินทรัพย์ (Knowledge Asset)  ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรได้  และมีการจัดทำกลยุทธ์ที่ชัดเจน  เพื่อนำสินทรัพย์ความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ (เช่น ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากขึ้น  ให้บริการได้รวดเร็วและตรงตามความต้องการ  สร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้บริการ เป็นต้น)

 2.3 องค์กรเน้นเรื่องการเรียนรู้ของบุคลากร   เพื่อส่งเสริม Core Competencies เดิมที่มีอยู่ให้แข็งแกร่งขึ้น และพัฒนา Core Competencies ใหม่ๆ  (Core Competencies หมายถึง ความเก่งหรือความสามารถเฉพาะทางขององค์กร)

 2.4 การมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ขององค์กร  เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ที่องค์กรใช้ประกอบในการพิจารณาในการ ประเมินผล  และให้ผลตอบแทนบุคลากร

                                     ผู้ทบทวน / ผู้อนุมัติ : ……………………………………………. (CKO / ผู้บริหารระดับสูงสุด)



แบบฟอร์ม 7  แบบประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ หมวด 3 – วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการความรู้
โปรดอ่านข้อความด้านล่างและประเมินว่าองค์กรของท่านมีการดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้อยู่ในระดับใด 
 0 – ไม่มีเลย / มีน้อยมาก         1 – มีน้อย           2 - มีระดับปานกลาง          3 - มีในระดับที่ดี           4 – มีในระดับที่ดีมาก
หมวดวัฒนธรรมในเรื่องการจัดการความรู้
สิ่งที่มีอยู่ / ทำอยู่
 3.1 องค์กรส่งเสริมและให้การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากร

 3.2 พนักงานในองค์กรทำงาน  โดยเปิดเผยข้อมูลและมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันและกัน

 3.3 องค์กรตระหนักว่า  วัตถุประสงค์หลักของการจัดการความรู้  คือ การสร้าง หรือเพิ่มพูนคุณค่าให้แก่ผู้ใช้บริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 3.4 องค์กรส่งเสริมให้บุคลากร เกิดการเรียนรู้ โดยการให้อิสระในการคิด และการทำงาน รวมทั้งกระตุ้นให้พนักงานสร้างสรรสิ่งใหม่ ๆ

 3.5 ทุกคนในองค์กรถือว่าการเรียนรู้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคน

                                     ผู้ทบทวน / ผู้อนุมัติ : ……………………………………………. (CKO / ผู้บริหารระดับสูงสุด)

 แบบฟอร์ม 8  แบบประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้   หมวด 4 - เทคโนโลยีการจัดการความรู้
โปรดอ่านข้อความด้านล่างและประเมินว่าองค์กรของท่านมีการดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้อยู่ในระดับใด 
 0 – ไม่มีเลย / มีน้อยมาก         1 – มีน้อย           2 - มีระดับปานกลาง          3 - มีในระดับที่ดี           4 – มีในระดับที่ดีมาก
หมวด 4 – เทคโนโลยีการจัดการความรู้
สิ่งที่มีอยู่ / ทำอยู่
 4.1.เทคโนโลยีที่ใช้ช่วยให้ทุกคนในองค์กรสื่อสารและเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึงทั้งภายในองค์กรและกับองค์กรภายนอก 

 4.2.เทคโนโลยีที่ใช้ก่อให้เกิดคลังความรู้ขององค์กร  ( An Institutional Memory )  ที่ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้

 4.3 เทคโนโลยีที่ใช้ทำให้บุคลากรในองค์กรเข้าใจและใกล้ชิดผู้มาใช้บริการมากขึ้น เช่น ความต้องการและความคาดหวัง พฤติกรรมและความคิด เป็นต้น

 4.4 องค์กรพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเน้นความต้องการของผู้ใช้

 4.5 องค์กรกระตือรือร้นที่จะนำเทคโนโลยีที่ช่วยให้พนักงานสื่อสารเชื่อมโยงกันและประสานงานกันได้ดีขึ้น มาใช้ในองค์กร

 4.6 ระบบสารสนเทศขององค์กรชาญฉลาด (Smart) ให้ข้อมูลได้ทันทีที่เกิดขึ้นจริง (Real Time) และข้อมูลสารสนเทศในระบบมีความเชื่อมโยงกัน

                                     ผู้ทบทวน / ผู้อนุมัติ : ……………………………………………. (CKO / ผู้บริหารระดับสูงสุด)










แบบฟอร์ม 9  แบบประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้   หมวด 5 - การวัดผลการจัดการความรู้
โปรดอ่านข้อความด้านล่างและประเมินว่าองค์กรของท่านมีการดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้อยู่ในระดับใด 
 0 – ไม่มีเลย / มีน้อยมาก         1 – มีน้อย           2 - มีระดับปานกลาง          3 - มีในระดับที่ดี           4 – มีในระดับที่ดีมาก
หมวดการวัดผลการจัดการความรู้
สิ่งที่มีอยู่ / ทำอยู่
5.1 องค์กรมีวิธีการที่สามารถเชื่อมโยง  การจัดการความรู้กับผลการดำเนินการที่สำคัญขององค์กร  เช่น  ผลลัพธ์ในด้านผู้ใช้บริการ ด้านการพัฒนาองค์กร ฯลฯ

 5.2 องค์กรมีการกำหนดตัวชี้วัดของการจัดการความรู้โดยเฉพาะ

 5.3 จากตัวชี้วัดในข้อ 5.2   องค์กรสร้างความสมดุลย์ระหว่างตัวชี้วัดที่สามารถตีค่าเป็นตัวเงินได้ง่าย  (เช่น ต้นทุนที่ลดได้ ฯลฯ) กับตัวชี้วัดที่ตีค่าเป็นตัวเงินได้ยาก  ( เช่น ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ การตอบสนองผู้ใช้บริการได้เร็วขึ้น การพัฒนาบุคลากร ฯลฯ )

 5.4 องค์กรมีการจัดสรรทรัพยากรให้กับกิจกรรมต่างๆ  ที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้ฐานความรู้ขององค์กรเพิ่มพูนขึ้น

                                     ผู้ทบทวน / ผู้อนุมัติ : ……………………………………………. (CKO / ผู้บริหารระดับสูงสุด)
      

ถ้าใช้วิธีอื่นๆ ในการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้  (เป็นวิธีอื่นๆที่องค์กรมีความเข้าใจ หรือได้มีการจัดทำมาแล้ว)     และเมื่อประเมินแล้วให้ระบุรายละเอียดลงในแบบฟอร์ม 10 ดังนี้

แบบฟอร์มที่ 10  รายงานผลการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ (กรณีใช้วิธีอื่นๆ)
ชื่อหน่วยงาน…………………………………………………………………………………………………..           
วันที่ประเมิน ……………………………………………………………………………………………………หน้าที่…/…
หัวข้อที่ประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้
ผลการประเมิน  (สิ่งที่มีอยู่/ทำอยู่)














                                     ผู้ทบทวน / ผู้อนุมัติ : ……………………………………………. (CKO / ผู้บริหารระดับสูงสุด)




9.   จากแบบฟอร์ม 5-9 หรือ 10 ให้นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินองค์กรตนเอง มาใช้ในการกำหนดกิจกรรมและรายละเอียดต่างๆ ในแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan)ในแบบฟอร์ม 11 และ 12

10.   เพื่อให้การจัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) มีประสิทธิผลมากขึ้น  ให้องค์กรประเมิน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor) สำหรับการวางระบบการจัดการความรู้ และการนำระบบไปปฏิบัติ     แล้วให้องค์กรระบุ มา  ปัจจัยหลัก เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานการจัดทำแผนการจัดการความรู้ ( KM Action Plan) ให้สามารถนำระบบไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมภายในหน่วยงาน

11.  การจัดทำแผนการจัดการความรู้  (KM Action Plan) ควรจะพิจารณาการเชื่อมโยงกับข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) ตามประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ได้ปฏิบัติตามข้อเสนอไปแล้ว หรือที่อยู่ในช่วงกำลังปฏิบัติ  ซึ่งองค์กรได้คัดเลือกไว้ในแผนปี งบประมาณ  พ.. 2548  เช่น
             11.1  KM Team  ต้องประกอบด้วยใคร  ตำแหน่งงานใด หน่วยงานใด เพื่อมาช่วยใน การทำตามเป้าหมาย KM  ที่เลือกไว้    ก็ควรจะเชื่อมโยงกับหัวข้อเรื่อง การจัดแบ่งงานและหน้าที่   เพื่อให้เป็นหน่วยงานหนึ่งของแผนผังโดยรวมขององค์กร
             11.2  ถ้าเรื่องใดต้องได้รับความรู้จากการฝึกอบรม ก็ควรจะเชื่อมโยงกับหัวข้อ บุคลากร
            11.3  ถ้าเรื่องใดต้องการใช้เทคโนโลยี เช่น ด้าน IT ก็ควรจะเชื่อมโยงกับหัวข้อเทคโนโลยี
12  การจัดทำแผนการจัดการความรู้  (KM Action Plan)  ควรจะกำหนดวันเวลาเพิ่มเติมในเรื่องต่อไปนี้ไว้ด้วย
             12.1 วันเวลาที่ผู้บริหารระดับสูงสุด, CKO และทีมงาน KM  ประชุมทบทวนร่วมกันเป็นช่วงระยะเวลาตามความเหมาะสมภายในปีงบประมาณ พ.. 2549
             12.2 วันเวลานัดที่ปรึกษาเข้าติดตามผลการดำเนินงานตาม  KM Action Plan  โดย
               ส่วนราชการและจังหวัด จะต้องจัดเตรียมเนื้อหาเพื่อไว้นำเสนอที่ปรึกษาถึงความคืบหน้าของผลงานเป็นระยะตามความเหมาะสมภายใน ปีงบประมาณ พ.. 2549

แบบฟอร์ม สำหรับใช้จัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan)
§  จากแบบฟอร์ม 5-9 หรือ 10 ให้นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินองค์กรตนเอง และการกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor) มาใช้ในการกำหนดกิจกรรมและรายละเอียดต่างๆ ในแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan)ในแบบฟอร์ม 10 และ 11 ตามลำดับ
§  แบบฟอร์ม 11 เป็นแผนการจัดการความรู้ ในส่วนของการกำหนดกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) เพื่อให้การจัดทำการจัดการความรู้ขององค์กรดำเนินไปอย่างมีระบบ
§  แบบฟอร์ม 12 เป็นแผนการจัดการความรู้ ในส่วนของการกำหนดปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กร ที่จะทำให้การจัดการความรู้เกิดขึ้นได้และมีความยั่งยืน โดยใช้กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) เพื่อให้กระบวนการจัดการความรู้ มีชีวิตหมุนต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

แบบฟอร์ม 11 – แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) : กระบวนการจัดการความรู้ (KM Process)
ชื่อหน่วนงาน : …………………………………………………………………………………………………………….
เป้าหมาย KM (Desired State) : …………………………………………………………………………………………
หน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม : ……………………………………………………………………………………………
ลำดับ
กิจกรรม
วิธีการสู่ความสำเร็จ
ระยะเวลา
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
เครื่องมือ/อุปกรณ์
งบประมาณ
ผู้รับผิดชอบ
 สถานะ
1
การบ่งชี้ความรู้








2
การสร้างและแสวงหาความรู้








3
การจัดความรู้ให้เป็นระบบ








4
การประมวลและกลั่นกรองความรู้








5
การเข้าถึงความรู้








6
การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้








7
การเรียนรู้








ผู้ทบทวน/อนุมัติ : นายกรม นวัตกรรม (CKO / ผู้บริหารระดับสูงสุด)

แบบฟอร์ม 12 แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) : กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)
ชื่อหน่วนงาน : ………………………………………………………………………………………………………………
เป้าหมาย KM (Desired State) : …………………………………………………………………………………………..
หน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม : ……………………………………………………………………………………………..
ลำดับ
กิจกรรม
วิธีการสู่ความสำเร็จ
ระยะเวลา
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
เครื่องมือ/อุปกรณ์
งบประมาณ
ผู้รับผิดชอบ
 สถานะ
1
การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม








2
การสื่อสาร








3
กระบวนการและเครื่องมือ








4
การเรียนรู้








5
การวัดผล








6
การยกย่องชมเชยและการให้รางวัล








ผู้ทบทวน/อนุมัติ : นายกรม นวัตกรรม (CKO / ผู้บริหารระดับสูงสุด)
เมื่อจัดทำแผนการจัดการความรู้ (Km Action Plan) ตามแบบฟอร์ม 11 -12 เรียบร้อยแล้ว ให้องค์กรจัดทำแบบฟอร์ม 13 เพื่อสรุปงบประมาณการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้ ดังนี้

แบบฟอร์ม 13  สรุปงบประมาณการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้                         
ชื่อหน่วนงาน………………………………………………………………………………………………………………
เป้าหมาย KM (Desired State) :…………………………………………………………………………………………
หน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม : ……………………………………………………………………………………………
ลำดับ
กิจกรรมตามแผนการจัดการความรู้
งบประมาณ (บาท)
ปี พ..2549
ปี พ.. ……






























































































































                                  ผู้ทบทวน / ผู้อนุมัติ : ……………………………………………. (CKO / ผู้บริหารระดับสูงสุด)











0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Blogger news

Blogroll

Translate