ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Ch5


Ch5: The application of information technology systems in enterprises.

Agenda

-         แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีขององค์กร

-         ระบบสารสนเทศสำนักงาน

-         ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

-         ระบบผู้เชี่ยวชาญ ( Expert  System :ES)

แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีขององค์กร

            นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจ  ผู้บริหารต้องมีความรู้ความเข้าใจ  มีวิสัยทัศน์  เพื่อตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวโน้มเทคโนโลยีหรือระบบสารสนเทศอื่นๆ

-         ระบบสารสนเทศสำนักงานอัตโนมัติ

-         ระบบผู้เชี่ยวชาญ / ปัญญาประดิษฐ์

-         ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

-         ระบบสารสนเทศภาครัฐ / ธุรกิจ E-Government,  E-Procurement, E-Business, E- Service

-         ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1.       ระบบสารสนเทศสำนักงาน  (OIS)

สำนักงานที่มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน

ชนิดระบบสารสนเทศสำนักงาน

*แบ่งได้เป็น 4 ประเภท

-  ระบบการจัดการเอกสาร

-  ระบบการจัดการข่าวสาร

-  ระบบประชุมทางไกล

-  ระบบสนับสนุนสำนักงาน

ระบบการจัดการเอกสาร

1.       การผลิตเอกสารและนำเสนอ

1.1    ประมวลคำ  Word  Processing

1.2    จัดพิมพ์ตั้งโต๊ะ  Desktop  Publishing

1.3    การใช้ตารางอิเล็กทรอนิคส์  Electronic  Spreadsheet

1.4    งานด้านการเก็บข้อมูล  Microsoft  Access

1.5    การนำเสนอผลงาน  Power  Point

2.       ระบบการประมวลภาพ

3.       การทำสำเนาเอกสาร

4.       หน่วยเก็บข้อมูลถาวร  เช่น  Disk , Diskette

ระบบการจัดการข่าวสาร

-         ไปรษณีย์อิเล็คทรอนิคส์

-         Web  Board

-         Voice  mail

-         Facsimile

-         Internet

      กระดานข่าว (Web  Board)

            การฝากข่าวสารผ่านทางเครือข่ายถึงผู้รับ  ใช้ได้ทั้งอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต

      ไปรษณีย์เสียง  (Voice  mail)

            เป็นระบบที่ช่วยเก็บเสียงของผู้ใช้โทรศัพท์ที่ติดต่อเข้ามาโดยที่เราไม่อยู่ที่ทำงาน

     ข้อดี

-         เปิดฟังที่ไหนก็ได้

-         บันทึก ทบทวน ลบ ส่งต่อไปยังผู้อื่นได้

    ข้อเสีย

-         พื้นที่ในการจัดเก็บจำกัด

-         ผู้รับไม่ได้เปิดฟัง  Voice mail  Box

-         ข้อความไม่ชัดเจน , สอบถามไม่ได้

ระบบประชุมทางไกล

1.การประชุมด้วยเสียง ได้ยินเพียงผู้ที่เกี่ยวข้องในการประชุมเท่านั้น

ข้อดี

1.ค่าใช้จ่ายในการใช้จ่ายต่ำ

ข้อเสีย

1.ไม่สามารถเห็นการโต้ตอบของผู้ตอบได้

2.เสียงไม่ชัดทำให้เข้าใจผิด

3.หากมาเอกสารต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารวิธีอื่นช่วย เช่น  โทสาร

2.การประชุมด้วยภาพ

            การประชุมโดยผู้ร่วมประชุมติดต่อพูดคุยกันได้ผู้สนทนาจะได้ยินเสียงและภาพของคู่สนทนาในขณะประชุม

ข้อเสีย

-ลงทุนสูงในอุปกรณ์ต่างๆเช่น กล้องวีดิทัศน์ ไมโครโฟน

-จัดในห้องที่สร้างสำหรับการประชุมโดยเฉพาะจึงต้องมีอุปกรณ์ล่วงหน้า




ระบบสนับสนุนสำนักงาน

1.ระบบแสงสว่าง แสงสว่างที่พอเหมาะช่วยให้การปฎิบัติงานได้ดีหรือลดความเมื่อยล้าของดวงตาลง

2.ระบบไฟฟ้า           

    -เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า

   - เครื่องรักษาสภาพไฟฟ้า

  -เครื่องสำรองไฟ

  3.ระบบปรับอากาศ

          อุณหภูมิภายในห้องมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน

4.ระบบรักษาความปลอดภัย

     -การป้องกันอัคคีภัย

      -การโจรกรรม

      -การทุจริต

เช่น อุปกรณ์ตรวจสอบผู้ผ่านเข้า-ออก โดยใช้บัตรผ่าน,โทรทัศน์วงจรปิด

5.การวางผังห้องทำงาน

การวางผังอุปกรณ์สำนักงาน,โต๊ะทำงานให้อยู่ตำแหน่งเหมาะสมช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น

โปรแกรมตั้งโต๊ะอเนกประสงค์

         โปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อเนกประสงค์ทั้งในรูปแบบประมวลคำและประมวลภาพ เช่น (Notepad) ,(Cardfile)แฟ้มนามบัตร,(Clock),(Calculator),(Calender)



ตัวอย่างโปรแกรมจัดการข่าวสารและประชุมทางไกล

-โปรแกรมช่วยในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์ (E-mail )

เช่น Yahoo ,Hotmail , Microsoft outlook

-โปรแกรมส่งเอกสารด้วยแฟกซ์ เช่น Winfax, Winfax pro

-โปรแกรมในระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เช่น ซียูซีมี โปรแกรม Net Meeting

-โปรแกรมกระบวนการทำงานทางไกล เช่น FTP,PC Anywhere Lap link

-โปรแกรมระบบเครือข่าย (Network)

            -โปรแกรมควบคุมระบบ เช่น Windows NT, Windows 2000 Server

            -โปรแกรม Browser เช่น Nescape  Communicator ,Internet Explorer

ความสำคัญของระบบสารสนเทศสำนักงาน

1.ช่วยลดทุนในการบริหาร

2.การทำงานมีความถูกต้องแม่นยำ

3.ประหยัดพื้นที่ในการเก็บข้อมูล

4.ใช้จำนวนทรัพยากรมนุษย์น้อยลง

5.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร

6.วิวัฒนาการของอุปกรณ์ในสำนักงานอัตโนมัติ ทำให้อุปกรณ์ต่างๆมีราคาถูกลง

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

            กระบวนการของการใช้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟท์แวร์ (Software) ข้อมูลภูมิศาสตร์ (Geographic Data) และการออกแบบ (Personnel Design)

ในการสร้างประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูล


ระบบ GIS เป็นระบบที่ออกแบบเพื่อแสดงลักษณะของข้อมูลในรูปแบบต่างๆซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

-Environmental Information (สิ่งแวดล้อม) เช่น ข้อมูลดิน,ธรณีวิทยา,แหล่งน้ำ,พืชพันธ์,สัตว์ป่า

-Infrastructure Information (โครงสร้างพื้นฐาน) เช่น อาคารสิ่งปลูกสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบสื่อสารและคมนาคม

-Cadastral Information การประเมินสิทธิครอบครองกรรมสิทธิ์และการควบคุมการใช้ที่ดิน

-Socio- Economic Information ได้แก่ การกระจายตัวของประชาชนและสาธารณูปโภคต่างๆ

GIS  ไปใช้ทำอะไรบ้าง

1.       Location  สอบถามข้อมูลจากแผนที่  ค้นหาตำแหน่งที่ต้องเน้นหาตำแหน่งบ้าน

2.       Condition  ค้นหาข้อมูลในระดับสูงขึ้นมาโดยการให้เงื่อนไขในการค้นหาข้อมูล  เช่น หาแปลงที่ดินในจังหวัดแพร่ที่มีพื้นที่มากกว่า  20  ไร่

3.       Trends  การวิเคราะห์รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางพื้นที่  ณ เวลาต่างๆ เช่น เปรียบเทียบการขยายตัวของเขตเมืองระหว่างปี 2520-2540

4.       Patterns  วิเคราะห์ดูรูปทางพื้นที่ของเหตุการณ์ที่สนใจ  เช่น  การกระจายของโรคพืช

5.       Modeling  วิเคราะห์เพื่อให้ได้คำตอบว่า “จะเกิดอะไรถ้า...” เช่น  การหาพื้นที่เหมาะสมในการกำหนดตาม  Criteria  นั้นๆ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านต่างๆ

-         ปัญญาประดิษฐ์หรือ เอไอ (AI)

คือ  ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต  เช่น วิทยาการหุ่นยนต์, ภาษาธรรมชาติ, ระบบเครือข่ายเส้นประสาท (Neural  Networks)  และระบบผู้เชี่ยวชาญ, ES: Expert  System

ระบบผู้เชี่ยวชาญ  (Expert  System : ES)

เป็นส่วนหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์  ดังนั้นการตัดสินใจมีความซับซ้อนต้องอาศัยการจัดการข้อมูลและการจัดการแบบจำลองที่ดีแล้ว ยังต้องนำ  “ ระบบผู้เชี่ยวชาญ” เข้ามาแทน “ ระบบผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์”  ผ่านกระบวนการคอมพิวเตอร์  เมื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจและการแก้ปัญหา

ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)

      หมายถึงชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมความรู้เกี่ยวกับปัญหา เฉพาะเรื่องและกระบวนการอนุมาน เพื่อนำไปสู่ผลสรุปปัญหานั้นๆ

ระบบผู้เชี่ยวชาญ  หมายถึง  ระบบสารสนเทศที่ให้คำปรึกษาที่ลอกเลียนกระบวนการใช้เหตุผลของผู้เชี่ยวชาญในสาขาความรู้นั้น

-         คล้ายกับระบบอื่นตรงที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหา

-         ต่างจากระบบอื่นตรงที่ต้องเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ (Knowledge) มากกว่าสารสนเทศ

-         ถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับมนุษย์

-         ใช้หลักการปัญญาประดิษฐ์ (Artifcial lntelligence)

องค์ประกอบและโครงสร้างการทำงานของระบบผู้เชี่ยวชาญ









ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ  ES (Expert System)

1.       ป้องกันและรักษาความรู้

            ข้อมูลอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูล,การยกเลิกข้อมูล เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้อย่างเป็นระบบ ระเบียบ แบบแผน

2.       ES จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งานถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนองต่อปัญญาในทันทีทีเกิดความต้องการ

3.       การออกแบบ ES มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอเหมาะกับการใช้งาน ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญอย่างมีประสิทธิภาพ

4.       ES จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอน  เนื่องจากถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศจากผลกระทบทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์  เช่น ความเครียด,ความเจ็บป่วย

5.       ES เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ  โดยเฉพาะองค์การสมัยใหม่ (Modem  Organization) ที่ต้องการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  เช่น   การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด การลดต้นทุน  การเพิ่มการผลิต

ตัวอย่างระบบผู้เชี่ยวชาญ

-การตรวจสอบ

-การบริการ

-การวินิจฉัยโรค

-การพยากรณ์อากาศ

ตัวอย่างระบบผู้เชี่ยวชาญ

- ตัวอย่างซอฟต์แวร์ ที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของมนุษย์  ซอฟต์แวร์ “ExSys Corvid”

-การกำหนดกฎที่ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆได้โดยนักพัฒนาไม่ต้องเขียนกฎเองแล้ว ยังสามารถพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญบนเว็บได้อีกด้วย

ระบบความจริงเสมือน (Virtual  Reality)

- ความจริงเสมือนเป็นโปรแกรมด้านการปฎิสัมพันธ์ (Interactive)ตอบโต้ระหว่างตัวผู้ใช้กับระบบโดยระบบจะสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิก  สร้างเสียง  กลิ่น  แรงป้อนกลับมายังผู้ใช้ให้รู้สึกว่าได้สัมผัสในสภาวะนั้นจริงๆ เช่น ออกแบบบ้านระบบจะสามารถทำให้รู้สึกว่าเข้าไปในบ้านที่กำลังออกแบบนั้น


-


1 ความคิดเห็น:

 

Blogger news

Blogroll

Translate